Market Capitalisation per Operating Cash Flow (Market Cap./OCF) และ Market Capitalisation per Free Cash Flow (Market Cap./FCF)

นักลงทุนส่วนใหญ่มักดูความถูกแพงของหุ้นจากค่า P/E ซึ่งค่า P/E ก็คือการนำ Market Cap./Net Profit (นำจำนวนหุ้น x ทั้งบนและล่าง) ทั้งนี้การคำนวณค่า P/E มีข้อจำกัดตรงที่สามารถคำนวณได้เฉพาะบริษัทมีกำไรเท่านั้น ทำให้เราไม่สามารถประเมินความถูกแพงของบริษัทที่มีการลงทุนสูงหรือยังทำกำไรไม่ได้

Cost of Goods Sold (COGS) & Selling, General and Administrative Expenses (SG&A)

การทำธุรกิจจะมีต้นทุนหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ต้นทุนการขาย (COGS) และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (SG&A)

ต้นทุนการขาย หรือ Cost of Goods Sold (COGS) เป็นตัวเลขสำคัญที่บอกถึงประสิทธิภาพของระบบการผลิต ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร หรือ Selling, General and Administrative Expenses (SG&A) เป็นตัวเลขที่บอกถึงค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจาก COGS เช่น ค่าการตลาด ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือนผู้บริหาร เป็นต้น

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการขาย COGS จะเป็นตัวบ่งบอกขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจได้ดังนี้

ROE ตัวเลขนี้บอกได้หลายแง่มุม

ROE (Return on Equity) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น (Equity) สร้างรายได้กลับมาให้กับบริษัทได้มากแค่ไหน

ยกตัวอย่างนะคะ

นาย A ใช้ทุน 200,000 เปิดร้านขายส้มตำ และทำการขยายร้านโดยการกู้เงิน (ขายหุ้นกู้) ให้นาย C เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท สิ้นปีร้านส้มตำทำกำไรได้ 80,000 บาท ก่อนจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ (EBIT) และเมื่อจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 12,000 บาท ก็จะได้กำไรสุทธิ 68,000 บาท (Net Profit)


– สินทรัพย์บริษัท (Asset) = 320,000
– ทุน (Equity) = 200,000
– หนี้ (Debt) = 120,000
– D/E = 0.6 เท่า
ในกรณีนี้ ถ้าเราคำนวณ ROA จะได้เท่ากับ 80,000/320,000 = 25%
และ ROE จะมีค่าเท่ากับ 68,000/200,000 = 34%
(ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ROA จะใช้ EBIT คำนวณ แต่ ROE ทางตลาดจะคำนวนด้วย Net Profit นะคะ แต่วิธีการคำนวนที่ตลาดอื่นๆ ก็แตกต่างกันไปค่ะ)

หรือพูดกันอีกแง่ว่า เงินที่นาย A ลงทุน จะได้คืนกลับมาเป็นกำไร สูงถึง 34% ต่อปี เป็นธุรกิจที่ดีไม่ใช่น้อยเลย คือแค่ 3 ปีก็คืนทุนได้ง่ายๆ แล้ว
– ยิ่งกู้เยอะ D/E สูง ยิ่งมีค่า ROE สูง (ใช้เงินตัวเองน้อย แต่ธุรกิจขยายได้ด้วยเงินกู้ ROE จึงสูงกว่า ROA มาก แต่ความเสี่ยงก็สูงไปด้วย)
– การที่ ROE มีความสำคัญก็เพราะว่า มันเป็นตัวเลขที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุน ว่าเงินที่ลงทุนไป สร้างผลตอบแทนกลับมาเท่าไหร่ โดยไม่เอาส่วนของหนี้สินมาคำนวณด้วย
– ยิ่งบริษัทโตด้วยหนี้มากเท่าไหร่ ROE จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น (โดยมีข้อแม้ว่ากำไรต้องโตตามหนี้ด้วยนะ)
– ธุรกิจที่ไม่กู้เลยซักบาทเดียว จะมี ROA = ROE
– นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่า ในโลกทุนนิยม ถ้าคุณกู้ได้ แต่ไม่ยอมกู้ จะเป็นการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ นั่นคือคุณทิ้งโอกาสที่จะได้เงินต้นทุนต่ำมาขยายกิจการ
– การกู้จะเป็นเรื่องดีก็ต่อเมื่อควบคุมความเสี่ยงได้ และดอกเบี้ยจ่ายถูกกว่าผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นมาจากหนี้
– บริษัทที่มี ROA และ ROE สูง คือบริษัทที่ใช้สินทรัพย์น้อย สร้างรายได้มาก (เช่น ธุรกิจบริการ, ธุรกิจความคิดสร้างสรรค์, ธุรกิจที่เน้นมันสมอง)

อยากรู้แล้วใช่ไหมว่ากว่า 700 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีบริษัทไหนที่ ROE อยู่ในเกณฑ์ดี

คลิกเพื่อดูรายชื่อบริษัทที่มีการเติบโตของ ROE (ROE Growth History)  ติดต่อกัน 3 ปี จากระบบสแกนหุ้นของ AVA Advisor

https://ava.page.link/RQ5E

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบ ROE และ ROA ระหว่างแต่ละบริษัท ควรเปรียบเทียบในกลุ่ม sector เดียวกัน เนื่องจากแต่ละ sector จะมีโครงสร้างธุรกิจที่แตกต่างกัน และค่า ROE, ROA เหล่านี้จะแตกต่างกันมากๆ

ลองดูตัวอย่างของหุ้นในกลุ่มการท่องเที่ยวกันนะคะ

คลิกเพื่อดูหุ้นในกลุ่มการท่องเที่ยวหรือสแกน

https://ava.page.link/VmfB

ลองคลิกไปที่หุ้นตัวที่เราสนใจ จะเห็นรายละเอียดที่ลึกขึ้นของหุ้นตัวนั้นๆ (ในทีนี้จะขอเลือกหุ้น CENTEL นะคะ)

คลิกเพื่อดูรายละเอียดของหุ้น CENTEL หรือสแกน

https://ava.page.link/FsTc

 

อยากเจาะลึกรายละเอียดของธุรกิจนี้ให้มากขึ้น เราก็มี AVA Fact Sheet ที่เป็นงบสรุปสถานะและแนวโน้มของบริษัทนั้นๆ ลงในหน้าเดียว

คลิกเพื่อเปิดดู AVA Fact Sheet ของหุ้น CENTEL เจาะลึกธุรกิจของหุ้นตัวนี้ในหน้าเดียวหรือสแกน

https://ava.page.link/mQnd

 

หรืออยากดูการสรุปข้อมูลในรูปแบบกราฟ เราก็มี AVA Super Chart มาให้คุณเหมือนกัน โดยเรานำข้อมูลจาก AVA Fact Sheet มาทำเป็นกราฟใน AVA Super Chart พร้อมเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ เพื่อให้คุณได้เห็นแง่มุมใหม่ๆ ของงบการเงิน

 

คลิกเพื่อเปิด AVA Super Chart ของหุ้น CENTEL  https://ava.page.link/Zxog หรือสแกน

 

สามารถคลิกดูกราฟ ROE โดยเฉพาะก็ได้หรือสแกน

https://ava.page.link/Chh1

 

จะเห็นได้ว่ากราฟ ROE สามปีย้อนหลังของ CENTEL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนไม่ควรดูแค่ ROE อย่างเดียวเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องจับตามองไม่แพ้กัน

ติดตามสาระความรู้จากเราได้ทาblog.ava.fund เรายังมีของดีให้คุณอ่านอีกเพียบ

ROA (Return on Asset) ตัวเลขที่บ่งบอกว่า สินทรัพย์ของบริษัทนั้นช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้แค่ไหน

ROA (Return on Asset) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า สินทรัพย์ (Asset) ของบริษัทนั้นช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น

นาย A เปิดร้านส้มตำ ใช้เงินลงทุน 200,000 บาท ไม่กู้เงินเลย ทำกำไรได้ปีละ 40,000 บาท คิดเป็น ROA = 20%
– นาย B เปิดร้านซูชิ ใช้เงินลงทุน 5,000,000 บาท ไม่กู้เงินเลย ทำกำไรได้ปีละ 500,000 บาท คิดเป็น ROA = 10%
แน่นอนว่าร้านซูชิทำเงินได้มากกว่าร้านส้มตำ แต่เมื่อเทียบสัดส่วนเงินลงทุนที่ลงไปแล้ว นักลงทุนจะเลือกลงทุนกับนาย A หรือนาย B
– คุณสามารถขยายสาขาร้านส้มตำ 25 ร้าน ด้วยเงิน 5,000,000 บาท (ใช้เงินทุนสาขาละ 200,000 บาท)
– หรือขยายร้านสาขาซูชิ 1 ร้าน ด้วยเงิน 5,000,000 บาท

พอจะเห็นประโยชน์ของ ROA ไหมคะ? บางบริษัทสินทรัพย์เยอะมาก แต่กลับไม่สร้างรายได้ให้กับบริษัทสูงเท่าไหร่ ในขณะที่บางบริษัทมีสินทรัพย์แค่นิดเดียว แต่รายได้กลับโตเอาๆ ถ้าเป็นคุณ จะสนใจในบริษัทแบบไหนคะ?

และถ้าบริษัทไหน มี ROA ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นการบ่งบอกว่าบริษัทนั้นๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ที่มีให้สร้างรายได้ได้สูงขึ้นทุกปี ย่อมเป็นการบ่งบอกว่าบริษัทเหล่านั้นใช้สินทรัพย์ในองค์กรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่มเฟือย ล้างผลาญเงินไปเพื่อสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

อยากรู้แล้วใช่ไหมว่ากว่า 700 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีบริษัทไหนที่ ROA อยู่ในเกณฑ์ดี

คลิกเพื่อดูรายชื่อบริษัทที่มีการเติบโตของ ROA (ROA Growth History) สูงกว่า 15% ติดต่อกัน 3 ปี จากระบบสแกนหุ้นของ AVA Advisor

https://ava.page.link/vnu4

ลองคลิกไปที่หุ้นตัวที่เราสนใจ จะเห็นรายละเอียดที่ลึกขึ้นของหุ้นตัวนั้นๆ (ในทีนี้จะขอเลือกหุ้น Beauty นะคะ)

 คลิกเพื่อดูรายละเอียดของหุ้น Beauty >>  https://ava.page.link/GZ92  หรือสแกน

และเพื่อเข้าใจภาพของธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น เราก็ยังมี AVA Fact Sheet ที่เป็นเหมือนการสรุปสถานะและแนวโน้มของบริษัทนั้นๆ ลงในหน้าเดียว

สามารถเปิด AVA Fact Sheet ของหุ้น Beauty เพื่อดู ROA และข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนได้ที่ >> https://ava.page.link/8ikk

 

เท่านั้นยังไม่พอ หากคิดว่าข้อมูลใน AVA Fact Sheet มีตัวเลขเยอะ ดูแล้วตาลาย เรายังมี AVA Super Chart  ซึ่งเป็นการวิเคราะห์งบการเงินแบบสรุปในรูปแบบกราฟเพื่อให้คุณได้เห็นแง่มุมใหม่ๆ ของงบการเงินในมุมมองที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อน

คลิกเพื่อเปิด AVA Super Chart ของหุ้น Beauty >>https://ava.page.link/7aAY หรือ สแกน 

สามารถคลิกดูกราฟ ROA โดยเฉพาะก็ได้ >> https://ava.page.link/1wVW หรือสแกน

 

จะเห็นได้ว่ากราฟ ROA ของหุ้น Beauty เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ROA ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่นักลงทุนใช้ในการเลือกหุ้น มีอีกหลายปัจจัยที่นักลงทุนควรจะใช้พิจารณาในการตัดสินใจ

ติดตามความรู้ดีๆ สาระเเน่นๆ แบบนี้ได้อีกที่ blog.ava.fund เรายังมีของดีรอให้คุณชมอีกเพียบ 😀

How to use AVA (Chapter 1)

Day 1 – Getting Started

สวัสดีค่ะยินดีต้อนรับสู่ AVA Advisor เมโมฉบับนี้จะช่วยอธิบายวิธีการใช้งาน AVA Advisorเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้ใหม่นะคะ

Sign Up -ลงทะเบียนเริ่มใช้งาน

เริ่มต้นคุณจะต้องทำการ Sign Upก่อนเพื่อเริ่มใช้งานค่ะ จะ Sign Upโดยใช้อีเมล์ของคุณหรือ Sign Upด้วย Facebookก็ได้นะคะ

หลังจาก Sign Upทาง AVA Advisor จะส่งอีเมล์เพื่อให้คุณยืนยันการสมัครสมาชิกหลังจากนั้นก็เริ่มใช้งานกันได้เลย

หลังจาก Sign Inเข้าแอพแล้วเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า AVA Advisorทำอะไรได้บ้าง

AVA Advisor Tour

หน้าแรกของ AVA Advisor มีชื่อว่า Homeที่หน้านี้คุณจะได้เห็นสภาวะตลาด SETแบบสรุปของวันนี้รวมไปถึง​Filter หุ้นที่น่าสนใจที่ AVA Advisor เลือกให้ตามประเภทการลงทุนแบบต่างๆทั้ง Day Trade, Technical Tradeและ VI

 

คุณสามารถเข้าไปดู Filter หุ้นที่น่าสนใจในแต่ละหัวข้อได้เลยค่ะยกตัวอย่างเช่น Filterชื่อ3D Stronger than SETคือรายชื่อหุ้นที่แข็งแรงกว่า SET Indexในรอบ 3วันที่ผ่านมา

เห็นไหมคะว่า AVA Advisorจะแสดงรายชื่อหุ้นพร้อมกราฟ Relative Strength (ความแข็งแรงของหุ้นเทียบกับ SET Index) ให้เห็นในหน้าจอเลยค่ะแค่นี้คุณก็สามารถเลือกดูหุ้นที่สนใจเพื่อตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมได้แล้ว

หรืออีกตัวอย่างถ้าเลื่อนหน้าจอ Homeไปด้านข้างเพื่อไปดู Filterอื่นๆเช่นหากคุณเป็น VIอยากจะหาหุ้นที่มี EPS (กำไรต่อหุ้น) สวยๆคุณสามารถเลือก Filter ชื่อ 5-Yr Strong EPS Growthคือรายชื่อหุ้นที่มี EPSเติบโตต่อเนื่องติดต่อกัน 5ปี

AVA Advisorจะแสดงรายชื่อหุ้นพร้อมกราฟ EPSรายปีให้เห็นในหน้าจอค่ะเป็นไงคะเพียงแค่นี้การคัดหุ้นของคุณก็จะง่ายขึ้นมากด้วย Filterที่ AVA Advisor เตรียมไว้ให้

ที่นี้ถ้าหากคุณอยากดู Filterอื่นๆที่ทาง AVA Advisorเตรียมไว้ให้นับร้อย Filterก็สามารถเข้าไปที่ AVA Alertด้านล่างได้ค่ะคุณจะเห็น Filterถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่

 

ทีนี้พอคุณสนใจหุ้นตัวใดซักตัวสิ่งที่เราควรทำต่อไปก็คือเพิ่มหุ้นนั้นๆเอาไว้ในรายการ Favoritesค่ะด้วยการใช้นิ้วแตะค้างไว้ที่ชื่อหุ้นจะมีเมนูสำหรับเพิ่มหุ้นไว้ใน Favoritesค่ะเรามี Favoritesเตรียมไว้ให้คุณถึง 6ชุดเลือกเพิ่มหุ้นเข้าไปใน Favoritesได้เลยนะคะ

 

หลังจากนั้นหากคุณต้องการเข้าไปดู Favoritesของหุ้นที่คุณรวบรวมไว้คุณต้องกลับไปที่หน้า Homeแล้วกดที่เมนู Favoritesด้านบนคุณจะเห็นรายชื่อ Favoritesทั้ง 6ชุดซึ่งในแต่ละชุดก็จะมีชื่อหุ้นที่คุณ Add Favoritesเอาไว้ค่ะ

นอกจากนี้ที่หน้านี้ยังจะมีข้อมูลสรุปอื่นๆที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อหุ้นแบ่งตาม Sector, หรือหุ้นที่ติดอันดับ Top Gainer, Top Loser, หรือ Most Activeในวันนั้นๆ

เป็นไงบ้างคะการใช้งาน AVA Advisorตอนที่ 1ง่ายมั้ยคะเดี๋ยวในตอนที่สองเราจะมาสอนวิธีการดูข้อมูลเชิงลึกของหุ้นแต่ละตัวที่คุณสนใจว่า AVA Advisorจะบอกข้อมูลเชิงลึกอะไรให้กับคุณได้บ้าง

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะมีความสุขกับการลงทุนนะคะ

AVA

How to use AVA (Chapter 3)

Day 3 – AVA Stock Alert

สวัสดีค่ะตอนที่แล้วเราอธิบายเรื่องการดูข้อมูลหุ้นรายตัวพร้อมการตั้งเตือนราคาหุ้นเบื้องต้นไปแล้วนะคะแต่คิดว่าหลายๆ คนจะเริ่มสนใจรูปแบบการตั้งเตือนอื่นๆของหุ้นรายตัวด้วย

นอกเหนือจากการตั้งเตือนราคาหุ้นคุณยังสามารถตั้งเตือนได้อีกหลายรูปแบบ

  1. ตั้งเตือนโวลุ่ม
  2. ตั้งเตือนเมื่อมีข่าวเกี่ยวข้องกับหุ้น
  3. ตั้งเตือนเมื่อถึงกำหนด corporate actionต่างๆเช่น XD, XW ฯลฯ
  4. ตั้งเตือนเมื่องบการเงินประกาศ
  5. ตั้งเตือนเมื่อมีเอกสารใหม่ของบริษัทจดทะเบียนอัพเดทเช่นรายงานประจำปี (Annual Report), 56-1ฯลฯ

ตั้งเตือนโวลุ่ม

วิธีการแจ้งเตือนโวลุ่มหุ้นทำเหมือนกับการตั้งเตือนราคาเลยค่ะคุณเพียงแค่เปิดสวิทช์ Volume Alertเท่านั้นหน้าจอการตั้งเตือนก็จะแสดงขึ้นมาค่ะ

คุณสามารถลากเส้นเป้าหมายเพื่อแจ้งเตือนโวลุ่มบนกราฟโวลุ่มได้เลย

และหากคุณต้องการเลื่อนกราฟให้ใช้นิ้วสองนิ้วลากกราฟพร้อมกันนะคะ

หากต้องการลบราคาแจ้งเตือนคุณเพียงแค่ลากเส้นราคาไปวางที่ถังขยะที่มุมล่างซ้ายเท่านั้นเองค่ะ

หากต้องการดูรายละเอียดการแจ้งเตือนโวลุ่มแบบสรุปสามารถกดที่ปุ่มลูกศรชี้ลงที่ตรงด้านล่างของหน้าจอได้ค่ะ

เมื่อคุณตั้งเตือนโวลุ่มหุ้นได้ตามที่ต้องการแล้วคุณก็สามารถปิดโปรแกรม AVA Advisorไปได้เลยค่ะหลังจากนี้AVAจะคอยช่วยตรวจสอบความเคลื่อนไหวของโวลุ่มให้คุณตลอดเวลาเมื่อไหร่ก็ตามที่โวลุ่มไปถึงเป้าหมายที่คุณตั้งเอาไว้AVAจะรีบแจ้งเตือนคุณทันทีผ่านทาง Push Notificationค่ะซึ่งเมื่อคุณเข้าแอพ AVA Advisorมาคุณสามารถดูประวัติการแจ้งเตือนได้ที่เมนู Inbox

NEWS Alert

ถ้าคุณเปิด NEWS Alertของหุ้นที่คุณสนใจเอาไว้AVA จะคอยตรวจติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับหุ้นที่คุณสนใจจากแหล่งข่าวต่างๆรวมถึงจากโซเชียลเน็ทเวิร์คเมื่อมีข่าวที่เกี่ยวข้องกับหุ้นที่คุณสนใจก็จะแจ้งเตือนคุณทันทีผ่านทาง NEWS Alert ค่ะ

Corporate Action Alert

บ่อยครั้งไหมคะที่คุณมักจะลืมว่าหุ้นที่คุณเล็งไว้จะจ่ายปันผลหรือจะได้สิทธิ์วอแรนต์เพียงเปิดการตั้งเตือน Corporate Actionทาง AVAจะแจ้งเตือนคุณถึงประกาศ Corporate Actionต่างๆโดยแจ้งเตือนตามช่วงเวลาที่คุณสามารถกำหนดเองได้ค่ะว่าจะให้แจ้งเตือนล่วงหน้ากี่วัน

Financial Statement Alert

ไม่ต้องกลัวนะคะว่าจะพลาดข่าวประกาศงบการเงินเพียงเปิด Financial Statement Alertเมื่อทางตลาดหลักทรัพย์เผยแพร่ข้อมูลงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนAVAจะแจ้งเตือนให้คุณทราบทันทีค่ะ

Document Alert

ส่วนเอกสารบริษัทจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นรายงานประจำปีหรืออัพเดทเอกสาร 56-1หรือเอกสารอื่นๆถ้าคุณตั้งเตือน Document Alertไว้ AVAจะแจ้งเตือนเมื่อมีเอกสารใหม่เผยแพร่ทันทีค่ะ

เป็นไงบ้างคะเพียงใช้ AVA Stock Alertคุณก็เหมือนกับมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยอัพเดทความเคลื่อนไหวของหุ้นรายตัวให้คุณทราบตลอดเวลาสะดวกใช่ไหมล่ะคะ

ในตอนที่เราจะข้ามไปสอนเรื่องการใช้เครื่องมืออย่างกราฟเทคนิคอลที่นักลงทุนสายเทคนิคหลายคนสนใจอยากรู้กันมากคอยติดตามนะคะ

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะมีความสุขกับการลงทุนนะคะ

AVA

How to use AVA (Chapter 2)

Day 2 – All About Stock

สวัสดีค่ะมาถึงเมโมตอนที่สองแล้วนะคะในช่วงสองวันที่ผ่านมาหวังว่าคุณจะได้เริ่มลองใช้ AVA Advisorในการ Filterหุ้นในแนวทางที่คุณสนใจไปบ้างแล้วสนุกดีใช่ไหมคะ

ในตอนที่สองเราจะมาสอนการดูข้อมูลเชิงลึกของหุ้นแต่ละตัวที่คุณสนใจกันค่ะ

Stock Info

เริ่มต้นโดยการที่คุณเลือกหุ้นจาก Filterหรือ Favoritesของคุณก็ได้ค่ะหลังจากคุณแตะไปที่หุ้นตัวนั้นๆAVA Advisor จะแสดงหน้า Stock Infoหรือรายละเอียดของหุ้นมาให้คุณค่ะ

หน้า Stock Infoจะมีข้อมูลสำคัญๆอยู่ 3ส่วนค่ะนั่นก็คือ Info, Newsและ Fund (Fundamental)

Stock Info – Info

เรามาดูที่หน้า Info กันก่อนด้านบนคุณจะเห็นกราฟราคาหุ้นซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนการแสดงผลได้ด้วยการกดปุ่ม Volumeข้างๆหัวใจนะคะคุณสามารถแสดงข้อมูลกราฟเป็นรายชั่วโมงรายวันรายสัปดาห์หรือรายเดือนฯลฯรวมถึงแสดง Indicatorที่คุณสนใจไม่ว่าจะเป็น Volume, Value, RSI, MACDหรือ NVDR ได้ด้วย

 

 

 

ส่วนรูปหัวใจจะแสดงสถานะว่าหุ้นนั้นๆ อยู่ใน Favorites ของคุณหรือไม่ถ้าคุณกดที่หัวใจก็จะเป็นการเพิ่มหรือเอาหุ้นนั้นออกจาก Favoritesค่ะ

ในหน้าจอนี้หากคุณพลิกจอเป็นแนวนอน AVA Advisor จะแสดงกราฟเทคนิคซึ่งเราจะมาสอนการใช้งานกราฟเทคนิคนี้ในตอนถัดๆไปนะคะ

ส่วนครึ่งล่างของจอจะแสดงข้อมูลพื้นฐานต่างๆของหุ้นไม่ว่าจะเป็นราคาสรุป,สัดส่วนทางการเงินต่างๆ, Bid/Offer,สัญญาณทางเทคนิค,รวมไปถึงเปรียบเทียบหุ้นกับ Sectorหรือ SETสามารถเลือกดูได้ตามความสนใจค่ะ

Stock Info – News

ถ้าคุณสนใจข่าวความเคลื่อนไหวของหุ้นตัวนั้นๆสามารถกดไปที่เมนู Newsที่ด้านบนได้AVA Advisorจะแสดงรายชื่อข่าวตามแหล่งข่าวต่างๆที่ AVAรวบรวมเอาไว้ให้คุณได้อ่านตามสะดวกค่ะ

Stock Info – Fundamental

และฟีเจอร์นี้น่าจะเป็นอะไรที่นักลงทุน VIชื่นชอบมากที่สุดนั่นคือคุณสามารถดูข้อมูลปัจจัยพื้นฐานต่างๆของหุ้นได้ผ่านทาง AVA Advisorแอพเดียวจบไม่ต้องเสียเวลาเข้าเว็บ IRหรือไปเปิดเว็บต่างๆเพื่อดูข้อมูลแล้วนะคะไม่ว่าจะเป็นงบการเงิน,กราฟรายงานสถานะทางการเงินต่างๆ,เอกสารบริษัทจดทะเบียน,รายชื่อผู้ถือหุ้นฯลฯทั้งหมดรวบรวมไว้ในเมนู Fundamentalค่ะ

Stock Info – Alert

เอาล่ะค่ะเรามาปิดท้ายตอนนี้ด้วยฟีเจอร์เด็ดที่คุณจะต้องชอบนั่นก็คือ Stock Alertนั่นเองลองกดไปที่รูปลำโพงที่มุมบนขวานะคะ

คุณจะเห็นหน้าจอการแจ้งเตือนขึ้นมาค่ะ

หน้าจอนี้จะช่วยให้คุณตั้งค่าแจ้งเตือนของหุ้นแต่ละตัวได้อย่างสะดวกในตอนนี้เราจะสอนการแจ้งเตือนราคาหุ้นกันก่อนนะคะส่วนการแจ้งเตือนอื่นๆเราจะมาจัดเต็มกันในตอนที่ 3ค่ะ

วิธีการแจ้งเตือนราคาหุ้นคุณเพียงแค่เปิดสวิทช์ Price Alertเท่านั้นหน้าจอการตั้งเตือนก็จะแสดงขึ้นมาค่ะ

คุณสามารถลากเส้นแนวรับแนวต้านเพื่อแจ้งเตือนราคาบนกราฟได้เลย

และหากคุณต้องการเลื่อนกราฟให้ใช้นิ้วสองนิ้วลากกราฟพร้อมกันนะคะ

หากต้องการลบราคาแจ้งเตือนคุณเพียงแค่ลากเส้นราคาไปวางที่ถังขยะที่มุมล่างซ้ายเท่านั้นเองค่ะ

หากต้องการดูรายละเอียดการแจ้งเตือนราคาแบบสรุปสามารถกดที่ปุ่มลูกศรชี้ลงที่ตรงด้านล่างของหน้าจอได้ค่ะ

เมื่อคุณตั้งเตือนราคาหุ้นได้ตามที่ต้องการแล้วคุณก็สามารถปิดโปรแกรม AVA Advisorไปได้เลยค่ะหลังจากนี้AVAจะคอยช่วยตรวจสอบความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นให้คุณตลอดเวลาเมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาหุ้นไปทดสอบแนวรับหรือแนวต้านที่คุณตั้งเอาไว้AVAจะรีบแจ้งเตือนคุณทันทีผ่านทาง Push Notificationค่ะซึ่งเมื่อคุณเข้าแอพ AVA  Advisor มาคุณสามารถดูประวัติการแจ้งเตือนได้ที่เมนู Inbox

เป็นไงบ้างคะการใช้งาน AVA Advisorตอนที่ 2คุณจะสามารถดูรายละเอียดเชิงลึกของหุ้นแต่ละตัวได้แล้วไม่ว่าจะเป็นกราฟเทคนิค,ปัจจัยพื้นฐาน

ยิ่งไปกว่านั้นคุณจะเริ่มเห็นฟีเจอร์เด็ดๆของ AVA Advisorอย่างการตั้งเตือนราคาหุ้นแล้วในตอนที่ 3เราจะมาจัดเต็มเรื่องการตั้งเตือนแบบอื่นๆกันนะคะ

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะมีความสุขกับการลงทุนนะคะ

AVA

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 3

ด้วยแอพ Market Anyware Pro คุณจะสามารถเปิดดู Cash Flow แบบง่ายๆ ได้ในเวลาไม่ถึง 1 นาที ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังจะสามารถหาหุ้นดีที่น่าลงทุนได้จาก Cash Flow ได้อีกด้วย เช่น


  • ธุรกิจไหนที่ดำเนินการได้ดี กระแสเงินสดจากธุรกิจหลักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Good OCF Growth)
  • ธุรกิจไหนขยายการลงทุนแบบก้าวกระโดดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (Aggressive Investment)
  • ธุรกิจไหนมีสัดส่วนเงินลงทุนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ (อันนี้เอาแนวคิดของบัฟเฟตมาทำเป็นสูตรสแกนหุ้นชื่อ ICF/Net Profit) ผมว่าแฟน VI น่าจะชอบแน่นอน

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 2

ในงบการเงินจะแบ่งกระแสเงินสดเป็น 3 ประเภทครับ cashflow_graph

• Operating Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (เส้นเขียว)
• Investing Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากการลงทุน (เส้นแดง)
• Financing Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน (เส้นเหลือง)

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 1

ถ้าถามผมว่า หลายๆ คนที่เพิ่งเริ่มศึกษางบการเงิน กลัวอะไรมากที่สุด? ผมมั่นใจว่าเรื่องของ “กระแสเงินสด (Cash Flow)” เป็นหนึ่งในนั้น โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนบัญชีมา ไม่ได้ทำธุรกิจมา การที่จะเข้าใจกระแสเงินสดเป็นอะไรที่ไม่ง่ายเลย เพราะนึกภาพไม่ออก จินตนาการไม่ได้

ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย EV/EBITDA ตอนที่ 2

เอาล่ะ คุณได้เข้าใจที่มาของ EV/EBITDA แล้ว มาตอนนี้ผมจะสอนวิธีการสแกนหาหุ้นพื้นฐานดีด้วย EV/EBITDA ให้ครับ

ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย EV/EBITDA ตอนที่ 1

ผมมีโอกาสได้คุยกับคุณต้า กวิน สุวรรณกุล กูรูด้าน DCA ชื่อดัง คุณต้าถามผมเรื่องเกี่ยวกับ EV/EBITDA ว่า Market Anyware มี EV/EBITDA ให้ใช้หรือเปล่า ซึ่งบังเอิญมากว่าเป็น ratio ตัวใหม่ที่ Market Anyware เพิ่งพัฒนาเสร็จพอดีเลย ผมเลยสัญญาว่าจะมาเขียนบล็อกอธิบายวิธีใช้ให้ครับ

กรองหุ้นพื้นฐานดี [ตอนที่ 3] หาหุ้นกำไรเติบโตที่ราคาหุ้นตกหนัก

ในตอนที่แล้วผมอธิบายความแตกต่างระหว่าง EPS กับ Net Profit รวมถึงวิธีการหาหุ้นพื้นฐานดีด้วย EPS Growth ไปแล้ว แต่ในตอนนี้จะเป็นตอนเสริมที่ผมจะให้ลองหาหุ้นที่พื้นฐานดี และ “ราคาตกหนัก” เพื่อเราจะได้มีโอกาสเข้าซื้อในจังหวะที่ราคาหุ้นต่ำลง

กรองหุ้นพื้นฐานดี [ตอนที่ 2] ทำไมผมชอบดู EPS มากกว่า Net Profit

ในตอนที่แล้วผมอธิบายวิธีการหาหุ้นพื้นฐานดีด้วย Net Profit Growth ไปแล้ว แต่ในตอนนี้ผมจะบอกว่า ทำไมผมถึงไม่ใช้ Net Profit Growth แต่ใช้ EPS แทน (แต่ที่ต้องสอน Net Profit Growth ก็เพราะมันเป็นพื้นฐานที่คุณควรจะรู้ก่อนรู้จัก EPS)

EPS (Earnings per Share) คืออะไร..?

กรองหุ้นพื้นฐานดี [ตอนที่ 1] หาหุ้นกำไรเติบโตแบบง่ายๆ ด้วย Net Profit Growth

ในช่วงหุ้นตกนักลงทุนระยะสั้นรวมถึงสายเทคนิคคงอารมณ์บูดกันเป็นแถบๆ ช่วงเวลาแบบนี้มีนักลงทุนประเภทหนึ่งที่ชอบมากครับ คือนักลงทุนสายพื้นฐาน (VI) เพราะหุ้นดีๆ หลายตัวราคาตกลงมาหนัก บางตัวราคาตกหนักเกินมูลค่าที่แท้จริงก็เป็นเวลาซื้อหุ้นดีๆ เก็บกันได้เลย

ซีรี่ย์นี้ผมจะมาบอกสูตรหาหุ้นพื้นฐานดีแบบง่ายๆ ก่อน ประกอบไปด้วย 3 ตอน

มารู้จักกับหุ้น Turnover สูงกัน

 

สำหรับคนเล่นสั้น มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราจะเลือกหุ้นที่น่าสนใจมาอยู่ใน list..?

วันนี้ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกับเรื่องของ Turnover ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามกัน

เทคนิคการหาหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดด้วยสูตร Stronger than SET..!!

สำหรับนักเล่นสั้นแบบ Day Trade หรือนักเทคนิคหลายๆ คนมักนิยมหาหุ้นโดยดูจากความแข็งแกร่งของหุ้นเทียบกับ SET Index โดย ​วิลเลี่ยม โอนีล ปรมาจารย์ด้าน CANSLIM เรียกอินดิเคเตอร์ตัวนี้ว่า Relative Strenth (อย่าไปสับสนกับ Relative Strength Index: RSI คนละเรื่องกันนะครับ)

คู่มือสแกนหุ้นสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 4 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 3)

ผมพูดถึงการดู P/E กับ P/BV แบบเบื้องต้นไปแล้ว แต่จะบอกว่าการเลือกหุ้นที่ P/E ต่ำและ P/BV ต่ำเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นในการประเมินมูลค่าหุ้นครับ

การประมูลคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคม (ตอนที่ 1)

เห็นช่วงนี้มีข่าวครึกโครมเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อใช้ในระบบโทรศัพท์มือถือที่มีมูลค่าประมูลเป็นหลักหมื่นล้านบาท หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเขาถึงต้องการกันมากถึงขนาดประมูลราคาสูงลิ่ว ผมจะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ

คู่มือสแกนหุ้นสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 3 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 2)

ใน PART 1 ผมพูดเรื่อง P/E ไปแล้ว มา PART 2 นี้ผมจะมาพูดถึง P/BV บ้าง

ทวนกันซักนิดนะครับ P/BV คล้ายๆ P/E แต่เปลี่ยนคำถามคือ ถ้าคุณอยากจะซื้อหุ้นบริษัทซักบริษัทนึง คุณยินดีจะจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ของบริษัท ณ ปัจจุบัน..? เช่นถ้าบริษัท A มูลค่าทางบัญชี 10 ล้านบาท คุณอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทนี้คุณจะยอมจ่ายเงินกี่บาท..? ถ้าคุณยอมจ่ายเงิน 20 ล้านบาท นั่นหมายถึงบริษัทนี้มี P/BV = 2 เท่า

[Technical Scanner 101] คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 3 สแกนหุ้นเหนือระดับด้วย MACD Bullish Divergence

คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น
ตอนที่ 3 สแกนหุ้นเหนือระดับด้วย MACD Bullish Divergence

ในตอนที่แล้วผู้อ่านน่าจะพอเห็นภาพการสแกนหาหุ้นตามสัญญาณเทคนิคด้วย MACD + Volume บ้างแล้ว จริงๆ แล้วตัว MACD ยังมีประโยชน์กับเรามากกว่าการหาสัญญาณตัดขึ้นตัดลงพวกนี้นะครับ ในตอนนี้ผมจะเอา MACD ไปใช้ประโยชน์ในการหา Momentum ของหุ้น

[Technical Scanner 101] คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 2 การหาสัญญาณซื้อ MACD ที่สนับสนุนด้วย Volume Jump

คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น
ตอนที่ 2 การหาสัญญาณซื้อ MACD ที่สนับสนุนด้วย Volume Jump

ในตอนที่แล้วผู้อ่านน่าจะพอเห็นภาพการสแกนหาหุ้นตามสัญญาณเทคนิคเบื้องต้นด้วย MACD บ้างแล้ว แต่ในภาคปฏิบัติจริงๆ คุณเอาสูตรนี้ไปเทรด มีความเสี่ยงสูงครับ (ถ้ารวยได้ง่ายๆ ด้วย MACD อย่างเดียว คงรวยกันไปหมดแล้วใช่ไหม..?)

[Technical Scanner 101] คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 1 เริ่มใช้ Technical Scanner

คู่มือสแกนหุ้นเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้น
ตอนที่ 1 เริ่มใช้ Technical Scanner

บทนี้ผมจะสอนเกี่ยวกับการสแกนหุ้นตามสัญญาณเทคนิคขั้นเริ่มต้นนะครับ นักลงทุนสายเทคนิคหลายๆ คนคงเคยเจอปัญหาหาสัญญาณซื้อของหุ้นลำบากเนื่องจากมีหุ้นในตลาดจำนวนมาก และเราเลือกไม่ถูกว่าจะดูกราฟหุ้นตัวไหนดี เครื่องมือกรองหาหุ้นในแอพต่างๆ ปัจจุบันก็ดูเหมือนจะไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร ลองมาใช้ Market Anyware ดูนะครับ

คู่มือสแกนหุ้นสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 2 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 1)

ตอนที่ 2 กรองหุ้นง่ายที่สุดด้วย P/E และ P/BV (PART 1)

P/E กับ P/BV เป็นตัวเลขสองตัวที่นักลงทุนมือใหม่จะคุ้นเคยกับมันเป็นตัวแรกๆ

อธิบายแบบสั้นๆ P/E และ P/BV เป็นเครื่องมือวัดราคาหุ้นถูก/แพงแบบง่ายที่สุด โดยเอาราคาหุ้นไปเทียบกับกำไรของบริษัท หรือเอาราคาหุ้นไปเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัท

ลงคอร์สสัมมนาหุ้นกับ Market Anyware ระบบเศรษฐีร้อยล้านอัตโนมัติ..!! รวยทันทีหลังเรียนจบคอร์ส..!! (ทำได้จริงหรือ?)

เมื่อวานนี้มีคุณผู้หญิงท่านหนึ่งโทรคุยกับผมเพื่อสอบถามเรื่องคอร์สสัมมนา ผมขออนุญาตนำบทสนทนามาเล่าเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ที่อยากคิดลงทุนในตลาดหุ้น

คู่มือสแกนหุ้นสำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 1 เริ่มใช้ Scanner

ตอนที่ 1 เริ่มใช้ Scanner

ระบบสแกนหุ้นเป็นเครื่องมือที่เป็นจุดเด่นของแอพ Market Anyware ที่จะช่วยตอบโจทย์สำหรับนักลงทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนพื้นฐาน (Fundamental) นักลงทุนเทคนิค (Technical) หรือแม้กระทั่งนักลงทุนรายวัน (Day Trader)

หุ้นตกอย่าตกใจ (2)

โอกาสเข้าซื้อ

มุมมองนักลงทุนระยะยาวนั้น ใช้หลักการตรงข้ามกับเทรดเดอร์ที่เล่นสั้นครับ

เทรดเดอร์ที่เล่นสั้นใช้หลักความน่าจะเป็นในการเข้าซื้อ (เหมือนเล่นไพ่โปกเกอร์) ดังนั้นถ้าพลาด สิ่งสำคัญคือการยอมแพ้ (stop loss) ให้เร็ว ดังนั้นถ้าคุณดูกราฟเก่งมากพอ ความน่าจะเป็นที่คุณจะชนะจะมากกว่าที่คุณจะแพ้ และเมื่อชนะ คุณจะได้เงินมากกว่า ส่วนตาที่แพ้คุณออกเร็ว จะเสียเงินน้อย ในระยะยาวตามหลักสถิติคุณจะได้กำไรในที่สุด

หุ้นตกอย่าตกใจ! (1)

มีใครเคยคิดอยากเล่นหุ้นแล้วตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองคิดผิดบ้างไหมครับ..? ไม่น่าเลยฉัน เอาเงินเก็บมาเสียให้กับหุ้น “รู้งี้” ไม่ซื้อหุ้นดีกว่า

มุข “รู้งี้” ใช้ได้เสมอ แต่อย่าพยายามใช้บ่อยนะครับ มันคือข้ออ้างของคนที่ล้มเหลว ถ้าคุณมีหุ้นอยู่ตอนนี้แล้วขาดทุนหนัก อาจจะรู้สึกเข็ดหลาบกับตลาดหุ้น คำถามสำคัญคือ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เค้าจับจังหวะซื้อหุ้นยังไงที่ทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีและความเสี่ยงต่ำพวกเค้ารับมือกับสภาวะตลาดหุ้นดิ่งลงเหวแบบปัจจุบันได้ยังไง..? คุณจะเป็นแบบพวกเค้าได้หรือเปล่า..?

ตลาดหนี้ หยวน vs. ดอลล่าห์

นานๆ ทีผมคุยเรื่องหนักๆ กันบ้างครับ

วันนี้ผมได้คุยกับหลายคนในแฟนเพจของคุณทนง ขันทอง (Thanong Fanclub) เรื่องนี้น่าสนใจครับ เรื่องของจีนที่พยายามทิ้งพันธบัตรสหรัฐ

มุมมองของการลดค่าเงินหยวน น่าจะมีผลกระทบกับหุ้นและทองอย่างไรบ้าง..?

เอาแบบสั้นๆ ผมมองว่า..

1. ถ้าหยวนอ่อน ไทยเราจะเจอปัญหาเรื่องการส่งออกสินค้าในสองมุมมอง คือ จีนจะซื้อของเราแพงขึ้น เราจึงส่งของไปขายให้คนจีนลำบากขึ้น รวมถึงจีนจะกลับกลายมาเป็นคู่แข่งไทยในการส่งออกสินค้าให้ประเทศอื่น ธุรกิจที่จะกระทบโดยตรงกับการลดค่าเงินนี้คือธุรกิจส่งออกครับ

อนาคตของน้ำมัน

วันที่ 12 สิงหาคม 2015 เช้าวันแม่ ราคาน้ำมันโลกร่วงต่ำเป็นประวัติการณ์ ล่าสุดทำ new low ที่ $42.70 เหรียญต่อบาเรลแล้ว ลดลงต่ำสุด 4.2% เป็นราคาต่ำสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 2009 นักวิเคราะห์ว่ากันว่าเป็นผลจากสองประเด็นหลัก

CANSLIM กับหุ้นไทย ตอนที่ 1: เริ่มที่ CAN

มีแฟนเพจท่านนึงถามเกี่ยวกับการหาหุ้นตามแนวคิด CANSLIM ของ William O’Neil

ตอนนี้ทางทีมกำลังพัฒนาสูตรสแกนหุ้นตามแนวทางของ CANSLIM อยู่ครับ (ขาดแค่สูตรหา Relative Strength อย่างเดียวก็พร้อมใช้งาน)
แต่ก่อนอื่นผมต้องอธิบายแนวคิดของ O’Neil กับที่มาของ CANSLIM ให้เข้าใจเสียก่อน

** คุณเชื่อหรือไม่ว่า volume เทรดเกิน 80% ในตลาดหุ้นนิวยอร์ค (NYSE) นั้นไม่ได้เกิดจากคน แต่เกิดจากหุ่นยนต์เทรดหุ้นสายพันธ์ใหม่ **

เรื่องของ Robot เทรดหุ้นในเมืองไทยตอนนี้ได้รับความสนใจอย่างสูง แต่เอาเข้าจริงแล้วเรามีองค์ความรู้น้อยมากเกี่ยวกับหุ่นยนต์เทรดหุ้น องค์ความรู้นี้ยังใหม่มากในเมืองไทยและหุ่นยนต์เทรดของไทยเอาเข้าจริงแล้วยังค่อนข้างมีความแตกต่างในแง่พฤติกรรมเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ในตลาดที่พัฒนาไปไกลแล้วอย่างเช่นตลาด NYSE

อ่าน capital flow กับตลาดหุ้น

การดูเงินอ่อนหรือแข็ง กับ capital flow เราควรดูโมเมนตัมของมันครับ

ถ้าคุณพูดขึ้นมาเฉยๆ ว่า “เงินบาทอ่อน เงินฝรั่งจะเข้ามามั้ย..?” มันตอบไม่ได้ครับ เพราะถ้ามันเพิ่งอ่อน และแนวโน้มจะอ่อนกว่านี้ไปเรื่อยๆ เงินก็จะไหลออกไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

รู้จักกับ Earnings Yield

Earnings Yield คือการเอาสัดส่วนกำไรต่อหุ้นหารด้วยราคาหุ้นครับ ยกตัวอย่างเช่น หุ้นราคา 40 บาท (Price) มีกำไรปีล่าสุด 2 บาทต่อหุ้น (EPS) จะมี Earnings Yield = 2/40 = 5%

คุ้นๆ ไหมครับ มันคล้ายๆ P/E เนอะ แต่สลับด้านกัน หุ้นตัวนี้มี P/E 20 เท่า (40/2) แต่มี Earnings Yield 5% สรุป Earnings Yield ก็คือ E/P หรือส่วนกลับของ P/E นั่นเองครับ

พ่อแม่รวย จะสร้างลูกที่รวยยิ่งขึ้น

สถิติจากเว็บไซต์ Market Watch บอกว่า ลูกของกลุ่มคน 10% ที่มีรายได้สูง จะยังคงมีรายได้สูงต่อเนื่อง และลูกของกลุ่มคน 10% ที่รายได้ต่ำ จะมีรายได้ต่ำต่อไปตามพ่อแม

อนาคตพลังงานนิวเคลียร์

สัดส่วนการใช้พลังงานนิวเคลียร์เทียบกับพลังงานทั้งหมดลดลงเหลือ 10.8% ในปี 2014 เทียบกับช่วงปี 1996 ที่พลังงานนิวเคลียร์กินสัดส่วนถึง 17.6% ของพลังงานทั้งโลก

สาวๆ รู้ไว้ ซื้อ Chanel คุ้มกว่าซื้อทองจ้า..!?!

หนุ่มคนไหนเคยบ่นแฟนตัวเองเรื่องซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมบ้างไหมครับ..?

เมื่อกระเป๋าแบรนด์ดังๆ อย่าง Chanel ที่ใบหนึ่งๆ ราคาเกินแสนบาท หลายคนมองว่าเป็นเรื่องความฟุ่มเฟือย โรคติดของหรู ของสาวๆ เมืองไทย

Desalination โรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล แนวทางแก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน

ปัญหาน้ำแล้งและชลประทานเป็นปัญหาระดับโลกที่หลายๆ ประเทศคิดค้นวิธีแก้ปัญหาได้สำเร็จอย่างถาวรแล้ว ด้วยเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดโดยใช้น้ำทะเลครับ ภาษาอังกฤษเรียกกระบวนการนี้ว่า Desalination

Megatrend ใหม่ของโลก เรื่องเรือดำน้ำและอาวุธสงคราม

ช่วงนี้กระแสสังคมพูดถึงเรื่องเรือดำน้ำกันเยอะครับ เสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย

> ฝ่ายไม่เห็นด้วย ให้ความเห็นว่าเอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่ามั้ย ตอนนี้จะเปิด AEC อยู่แล้วประเทศไทยจำเป็นต้องเอาเรือดำน้ำไปขู่ใครงั้นเหรอ ชาวนาจะตายกันเป็นเบือ รัฐบาลเอาเวลาไปทำอะไรอยู่
> ส่วนฝ่ายสนับสนุน ก็มองว่าเรื่องความมั่นคงเป็นประเด็นสำคัญ วัวหายแล้วล้อมคอกมันจะไม่ทัน การปกป้องอธิปไตยของประเทศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อัพเดทสถานการณ์ทองคำ

(ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง โปรดใช้วิจารณญาณ)

หลายคน (รวมถึงผมเอง) เชื่อว่าทองคำจะไม่หลุด $1,1xx เพราะแนวรับนี้แข็งแกร่งมากมาตลอดสองปีที่ผ่านมา และด้วยเหตุผลอะไรต่างๆ อีกมากที่ผมเคยบอกว่า ผมค่อนข้างเชื่อมั่นในราคาทองคำ
แต่ยิ่งศึกษาระบบเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งเริ่มรู้สึกยอมรับว่า ตัวเองอาจจะคิดผิดครับ

รวยด้วยหุ้นปันผล

มีคนหลายคนถามผมว่าเค้าเพิ่งเริ่มต้นเล่นหุ้น แต่ยังไม่เชี่ยวชาญในการหาจังหวะซื้อขาย ดูสัญญาณเทคนิคยังไม่เป็น อ่านงบการเงินก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง กว่าจะศึกษาจนเล่นหุ้นเป็น คงเสียโอกาสการลงทุนไปเยอะแล้ว

VI ในตลาดไทยในมุมมองของดร.นิเวศน์

เมื่อวันก่อนที่งานสัมมนาของทางหลักทรัพย์กสิกรไทยที่ทางโบรกเกอร์เชิญผมไปเป็นวิทยากร ผมมีโอกาสได้คุยสั้นๆ กับดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ไอดอล VI อันดับ 1 ของคนไทย ได้มุมมองน่าสนใจหลายๆ อย่าง

การเป็น VI ที่ประสบความสำเร็จต้องดูพื้นฐานจากงบการเงินให้เป็น (เข้าใจอดีต) อ่านอนาคตให้ออก (มองเห็นอนาคต)

IFEC กลับตัวแล้วหรือยัง..?

ต่อเนื่องจากกรณีศึกษา IFEC ในโพสนี้ https://www.facebook.com/MarketAnyWare/videos/896305667077236/?comment_id=897159246991878

มีหลายท่านสอบถามมาต่อเนื่องว่า การที่ IFEC ราคาขึ้นแรงในช่วง 2-3 วันนี้และ MACD เกิด Divergence ชัดเจนถือเป็นสัญญาณกลับตัวหรือไม่

อัตราการว่างงาน, ระบบเศรษฐกิจ, กับหุ่นยนต์

ในอดีต นักเศรษฐศาสตร์จะใช้ตัวเลขอัตราการว่างงาน (Umemployment Rate) เพื่อสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ประเทศใดประชากรว่างงานมาก มักจะบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย (เช่น อัตราว่างงานของประเทศสเปนปัจจุบันสูงถึง 23% หมายความว่า ถ้าเราอยู่ใจกลางเมืองมาดริด แล้วเห็นคนสเปน 4 คนที่เดินผ่านไปมาบนถนน โดยสถิติหนึ่งในสี่คนนั้นจะว่างงาน)

ว่าด้วยเรื่อง house brand

ผมเพิ่งกลับมาจากธุระที่ประเทศญี่ปุ่น เดือนเมษานี้ไปกลับญี่ปุ่นไทย นับรวมแล้วอยู่ที่ญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งเดือน ช่วงที่ผมอยู่ที่นั่นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เมืองไทยมีดรามา Siam Banana กับ CP พอดี ประเด็นเรื่อง house brand ที่ออกมาชนกับสินค้าในร้านที่มีหน้าตาใกล้เคียงทำให้คนเข้าใจผิด (เช่นกรณี 7-Eleven ออก แลคติคดริ๊งค์ที่หน้าตาขวดไปละม้ายคล้ายคลึงกับ คาลพิสแลคโตะจนทำให้คนซื้อผิด)

อวสานเงินสด

มาร์ติน อาร์มสตรอง นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง เขียนในบล็อกของเขาเกี่ยวกับเรื่อง “สงครามเงินสด” ได้เกิดขึ้นแล้วที่รัฐหลุยเซียน่า สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศกฏหมายว่าด้วยการห้ามใช้เงินสดในการซื้อสินค้ามือสอง (ด้วยข้ออ้างที่ว่าเป็นการป้องกันการรับซื้อของโจร) ส่วนที่ฝรั่งเศสกฏหมายแปลกกว่านั้นคือห้ามซื้อสินค้าใดๆ ที่มีมูลค่าเกิน €1,000 (~35,000 บาท) ด้วยเงินสด..!! และคุณจะไม่สามารถกดเงินสดจาก ATM ได้เกิน €200 (~7,000 บาท) JP Morgan ประกาศกฏห้ามฝากเงินสดไว้ในตู้เซฟธนาคาร

ดูงบแบบบัฟเฟต ตอนที่ 2: SG&A

Market Anyware เอา สิ่งที่วอเรน บัฟเฟต มหาเศรษฐี VI อันดับหนึ่งของโลก ดูในงบการเงินมาฝากกันค่ะ

ในการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของงบ เพื่อแกะข้อมูลหาคุณภาพของกำไรที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งจริงๆ แล้วมันประกอบไปด้วยชุดตัวเลขที่สำคัญหลายๆ ตัว

ดูงบแบบบัฟเฟต ตอนที่ 1: Gross Profit Margin

Market Anyware เอา สิ่งที่วอเรน บัฟเฟต มหาเศรษฐี VI อันดับหนึ่งของโลก ดูในงบการเงินมาฝากกันค่ะ

ในการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของงบ เพื่อแกะข้อมูลหาคุณภาพของกำไรที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งจริงๆ แล้วมันประกอบไปด้วยชุดตัวเลขที่สำคัญหลายๆ ตัว

DW กับกราฟเทคนิค กำไรหลายเด้งภายในไม่กี่วันทำได้จริงหรือ..?

ในคลาสสัมมนา Advance Technical Scanner เมื่อเดือนที่แล้วมีผู้เข้าร่วมสัมมนาสอบถามว่า ทำไมผมมักจะกรองพวก DW ทิ้งไปจากผลลัพธ์การสแกนหุ้นด้วยสัญญาณเทคนิค..?

ผมคิดว่าคำถามนี้น่าสนใจครับ เลยเอามาแชร์ให้อ่านกัน

สถานการณ์ SET ในปัจจุบัน (ภาพใหญ่)

ตลาดดูเหมือนจะผ่าน 1,600 ได้ยากเต็มทีนะครับ ด้วยปัจจัยทั้งทางเทคนิคและพื้นฐานหลายๆ ประการ

ในภาพใหญ่แนวต้านแถวๆ 1,600 เป็นแนวต้านทั้งรอบใหญ่ใน timeframe Month และรอบกลางใน timeframe Week ชนเส้น 261.8% ทั้งคู่

สถานการณ์ SET ในปัจจุบัน (ภาพเล็ก)

แต่ถ้ามองดูภาพเล็กๆ ณ ปัจจุบัน สิ่งที่เราจะคาดหวังให้ราคาหุ้นวิ่งทะลุ 1,600 จุดไปได้ก็ต้องคาดหวังเงินทุนจากต่างประเทศ, นโยบายดอกเบี้ยของกนง. รวมถึงบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศ

ตอนนี้ทาง ECB ประกาศทำ QE แล้ว น่าจะเกิดเงินทุนไหลมาในตลาดเกิดใหม่มากขึ้น ประเด็นก็คือ พวกกองทุนต่างประเทศจะเอาเงินมาลงทุนในหุ้นของประเทศเราหรือเปล่า เป็นเรื่องที่ยังน่าสงสัย (แต่ผมคิดว่ามาแน่ จะมากหรือน้อยอีกเรื่องนึง)

หาสัญญาณซื้อง่ายๆ ด้วย Fibonacci + MACD + Volume ใน Market Anyware

เมื่อเราสแกนหาหุ้น หรือเลือกหุ้นที่ต้องการจะทำการเทรด แน่นอนว่าเราจำเป็นจะต้องมีหลักคิดในการคัดเลือก นี่เป็นสูตรเลือกหุ้นมาตรฐานที่ผมชอบใช้ในการเลือกหุ้นแบบ Trend Following

False Break Out

เรื่องที่ผมกำลังสอน robot ในการเรียนรู้ Chart Pattern ผ่านมาจนถึงเช้าวันนี้ผมก็ยังคงเจอกับ Fail Pattern อยู่เรื่อยๆ จนทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้นในสมมติฐานของตัวเอง

TRUE ลดพาร์ล้างขาดทุนสะสม

ก่อนหน้านี้ที่ EFORL ลดพาร์ผมเคยเขียนอธิบายมารอบนึงแล้ว แต่ช่วงนั้นสมาชิกแฟนเพจยังไม่เยอะถึงหลักแสน วันนี้มีข่าว TRUE ลดพาร์ ผมขออนุญาตนำโพสเดิมมาให้อ่านกันใหม่อีกครั้ง

ลดพาร์คืออะไร..?

สิ่งที่ผมสังเกตุเห็นในเรื่อง Let Profit Run ของตลาดหุ้นไทย..

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมต้องสอน robot ของ Market Anyware ในการเรียนรู้ Chart Pattern โดยการตรวจสอบและถอด Chart Pattern ทั้งหมดของหุ้นใน SET มากกว่า 600 ตัว รวมถึงพวก Commodities อีกประมาณ 50 ตัวออกมาเป็น training data set เพื่อ feed ให้กับ robot เรียนรู้

ฝรั่งแห่ขาย.. SET จบแล้ว (จริงๆ เหรอ)..?

วันนี้ผมเห็นมีคนทะเลาะกันใน group หุ้น group นึงเรื่องของ Fund Flow กำลังไหลออกจากไทย ฝ่ายนึงบอกว่าหุ้นไทยจบแล้ว ฝรั่งจะขนเงินออก วิกฤติกำลังจะมา อีกฝ่ายไม่เห็นด้วย

คืองี้ครับ ในช่วงหลายวันมานี้ Fund Flow ของฝรั่งขายสุทธิประมาณ 10,000 กว่าล้านบาท หลายคนมองว่าขายหนัก หนีไปที่อื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า เพราะปัญหาการเมือง ฯลฯ อีกร้อยแปด

การบินไทยในมุมมองของผม

ในอดีตผมเคยรู้สึกว่าธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจที่ทำกำไรยาก หาธุรกิจสายการบินน้อยเหลือเกินในโลกนี้ที่กำไรดี สาเหตุหลักๆ เนื่องจากต้นทุนที่สูง ทั้งเรื่องพลังงาน การดูแลรักษา รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรง

การเคลื่อนไหวของบัฟเฟต

การเคลื่อนไหวของบัฟเฟต จะกระทำเมื่อเค้าตัดสินใจว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปัจจัยพื้นฐานกับธุรกิจนั้นๆ แล้ว

ดังนั้นการที่บัฟเฟตเทหุ้นพลังงานอย่างเอ็กซ์ซอนแบบ “หมดพอร์ต” นั่นบ่งบอกความคิดของบัฟเฟตที่เชื่อว่าในระยะยาว น้ำมันจะไม่มีทางกลับมาในราคาเดิม ความได้เปรียบระยะยาวของธุรกิจเอ็กซ์ซอนได้หายไปอย่างถาวรแล้ว

P/E Divergence การดู Fundamental บนกราฟเทคนิค

หลายคนตัดสินว่าหุ้นถูกหรือแพง โดยเลือกหุ้นตาม P/E ใช่ไหมครับ P/E สูงแปลว่าหุ้นนั้นแพง ส่วน P/E ต่ำแปลว่าหุ้นนั้นถูก

P/E เป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบง่ายๆ เบื้องต้นที่ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีจุดอ่อนหลายๆ อย่าง เช่น

สรุปประเด็น “สวิสลอยตัวค่าเงินฟรัง”

สรุปประเด็น “สวิสลอยตัวค่าเงินฟรัง”

1. ยุโรปแห่ทิ้งเงินยูโรมาถือสวิสฟรัง เพราะประเด็นปัญหากรีซ+ความเสี่ยงยูโรอ่อนจาก QE ของยุโรป
2. SNB (ธนาคารกลางสวิส) ต้องแทรกแซงด้วยการซื้อเงินยูโรจำนวนมากเพื่อตรึงเงินสวิสฟรังให้อยู่ในระดับ 1.2 สวิสฟรัง/ยูโร (ทิ้งฟรังซื้อยูโร ฟรังจะอ่อนลง)

ที่มาของ MACD Buy Signal

มีแฟนเพจท่านนึงโทรคุยกับผมด้วยข้อสงสัยของสัญญาณซื้อใน MACD ว่าการตัด MACD ตัด 0 กับ MACD ตัด Signal มันเป็นสัญญาณซื้อต่างกันยังไง..? ผมเลยเขียนอธิบายเพิ่มเติมให้นะครับ

การถกเถียงเรื่อง Elliott Wave

เรื่องของ Elliott Wave ที่หลายคนถกเถียงกันแบบที่หาคำตอบไม่ได้ว่าใครผิดใครถูก ผมยกตัวอย่างเช่น บางคนมาพูดเรื่อง SET ว่าปัจจุบันเป็น Wave ไหนกันแน่ บางคนบอก นี่แค่ Wave 3 บางคนบอกตอนนี้เข้า Wave 5 แล้วความจริงแล้วประโยคที่พูดกันนี้เป็นการสื่อสารที่ “ยังไม่สมบูรณ์” คนแต่ละคนมอง Wave แตกต่างกันไปได้ แต่อย่างน้อยเราจะต้องมีจุดร่วมที่ว่า Wave ที่เรามองนั้นเป็น Wave ใน Cycle ไหนกันแน่

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Fibonacci กับการเข้าซื้อ

หุ้น GLOBAL ร่วงต่อเนื่องจากบรรดาข่าวร้ายทั้งเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว ความผิดหวังเรื่องผลประกอบการ คำถามคือ “ถ้า” คุณคิดว่า GLOBAL เป็นหุ้นพื้นฐานดี มีอนาคต (ผมไม่ได้ชี้นำนะ ไปอ่านงบแล้ววิเคราะห์กันเอา ผมก็ยังไม่ได้อ่านละเอียด) จังหวะไหนที่คุณควรจะเข้าซื้อ

Elliott Wave ตอนที่ 2: Wave ไม่จำเป็นต้องขึ้น 5 และลง 3 เสมอไป

ในโพสแรกผมเล่าเรื่องจิตวิทยามวลชน กับ Elliott Wave โดยความเชื่อส่วนตัวของผม การมอง Wave ให้ออกนั้นผมสนใจที่ปัจจัยพื้นฐานและอารมณ์ตลาด มากกว่าการดูกราฟหรือ Fibonacci ดังนั้นคำอธิบายเรื่อง Wave ของผมอาจจะแตกต่างไปจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ นะครับ

มันมีความแปลกประหลาดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับชุดตัวเลข Fibonacci กับตลาดหุ้น

มันมีความแปลกประหลาดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับชุดตัวเลข Fibonacci กับตลาดหุ้น ความแม่นยำจนดูเหมือนเป็นเรื่องมหัศจรรย์

ผมยกตัวอย่างช่วงหุ้นตกหนักตอน 15 ธันวาคม 2014 วันนั้นวันเดียวตลาดตกจาก 1,514 จุดไปที่ 1,375 จุด หรือตกรวดเดียว 139 จุด (มากกว่า 9%) ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่พอเรามามองกราฟใน timeframe week จะเห็นความสัมพันธ์ของการตกลงของราคาหุ้นเกี่ยวข้องกับเลข 61.8% อย่างน่าประหลาด (ดูเลข 3 ในภาพ)

ความยากลำบากของนักลงทุนสายเทคนิค

ความยากลำบากของนักลงทุนสายเทคนิค คือการหาหุ้น คุณใช้เวลาเท่าไหร่ในการหาหุ้นที่มีสัญญาณซื้อซักตัว..? และคุณมั่นใจแค่ไหนว่าไม่มีตัวเลือกไหนดีกว่าตัวที่คุณเล็งไว้แล้ว..?

Elliott Wave Made Easy

เรื่องของ Elliott Wave และ Fibonacci ในมุมมองของผมนั้น มันไม่ใช่เรื่องตัวเลขมหัศจรรย์อะไร จริงๆ แล้วเป็นเพียงแค่จิตวิทยาการลงทุนของมหาชนเท่านั้น ซึ่งถ้าเราเข้าใจ Elliott Wave ในภาพใหญ่ได้แล้วก็จะทำให้เราเข้าใจแนวทางการลงทุนได้มากขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนประเภทใดก็ตาม

ผมเลยขออนุญาตเอาบทความ Elliott Wave ที่เคยเขียนมาลงให้อ่านกันครับ

เข้าซื้อเมื่อคนอื่นกลัว..?

ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรงในปี 2014 เป็นความผิดปกติของตลาดพลังงานที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนัก การตกหนักกว่า 50% ของราคาน้ำมัน ทำให้หุ้นพลังงานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในไทย ร่วงตกหนักกันจำนวนมาก ทั้ง PTT, PTTEP ฯลฯ

ทองคำในปี 2015

มุมมองที่มีต่อทองคำของนักเศรษฐศาสตร์สองสายในระยะสั้นแตกต่างกันแบบหน้ามือเป็นหลังเท้า นักเศรษฐศาสตร์สายเงินฝืด (deflation) บอกว่า ทองจะลงหนักในปี 2015 ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์สายเงินเฟ้อ (inflation) บอกว่า ทองถึงจุดต่ำสุด และจะกลับตัวเป็นขาขึ้น ในปี 2015

ต้นทุนผลิตทองคำ

ต้นทุนผลิตทองคำ เทียบกับราคาทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาครับ เส้นสีฟ้าคือ Marginal Cash Cost (ต้นทุนหน้าเหมือง) เป็นต้นทุนเพิ่มเมื่อต้องการเพิ่มผลผลิตหน่วยใหม่

ก้าวต่อไปของหุ้นพลังงาน

วันนี้กลุ่มพลังงานเทกระจาดกันอย่างแรง นำมาโดย PTT ที่ร่วงหนักถึงเกือบ 6% ผมมีโอกาสได้อ่านบทวิเคราะห์จากเว็บไซต์ Oil and Energy ถึงสถานการณ์หุ้นพลังงานในต่างประเทศ เลยแปลแบบสรุปมาให้อ่านกันครับ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่หลายๆ ประเด็นก็น่าสนใจ)

The AI Revolution is On..!! (ตอนที่ 2)


เมื่อหุ่นยนต์ครองตลาดหุ้น..!!

ข้อดีของหุ่นยนต์ คือมันเป็นเครื่องจักรนักลงทุนที่ชาญฉลาดและทรงประสิทธิภาพ ตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์จะเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำตามตรรกะ แทนที่จะผันผวนอย่างรุนแรงตามอารมณ์ของนักลงทุน

The AI Revolution is On..!! (ตอนที่ 1)

เมื่อหุ่นยนต์ครองตลาดหุ้น..!!

ในโลกการลงทุนนั้นมีแนวทางหลากหลายรูปแบบครับ เริ่มกันตั้งแต่นักพนันที่เข้าไปเล่นหุ้นเหมือนแทงบาคาร่าในบ่อนที่ปอยเปต, นักลงทุนพื้นฐานที่ไม่สนใจการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น แต่กลับไปศึกษาพื้นฐานและอนาคตของธุรกิจอย่างลึกซึ้ง, เทรดเดอร์สายเทคนิค ที่ตัดสินใจซื้อขายจากกราฟ อาศัยการตีความจิตวิทยามวลชนในการลงทุน, เดย์เทรดเดอร์ ที่เล่นรายวันฉวยโอกาสจากความผันผวนของราคาหุ้นในการจับจังหวะทำกำไร

กรองหุ้นขั้นเทพสไตล์ Buffett Decode ตอนที่ 1: Cash Flow

มีคนถามทีมงานมาว่าชุดตะแกรงกรองหุ้นสุดพิเศษของ Buffett Decode ที่มีมากกว่า 60 สูตรมีอะไรบ้าง..? และจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร..?

หุ้นปั่นกับกราฟเทคนิค

เวลามีคนถามผม ว่าดูกราฟหุ้นตัวนี้ตัวนั้นให้หน่อย ถ้าผมไม่รู้จักหุ้นนั้นๆ ผมมักจะไม่ดูให้ พร้อมบอกกับคนถามว่า เทคนิคัล ใช้ไม่ได้กับหุ้นทุกตัว..

ใครถือหุ้นสายการบินอยู่บ้างครับ..?

วอเรน บัฟเฟต พูดถึงการลงทุนในธุรกิจสายการบินเอาไว้น่าสนใจครับ

“นักลงทุนเทเงินของพวกเขาลงไปกับธุรกิจการบินร่วม 100 ปีมาแล้ว และได้กลับมาเพียงผลลัพธ์ที่ยอดแย่”
“ธุรกิจการบินคือกับดักแห่งความตายของนักลงทุน”

ดร.นิเวศน์ เล่าเรื่อง Lewis Turning Point กับอุปสรรคการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ค่อนข้างยาวนะครับ ผมสรุปให้อ่านแบบสั้นๆ แต่ใครอยากอ่านเวอร์ชั่นเต็ม คลิกไปอ่านได้ที่นี่

กระอัก!! มหาเศรษฐี “วอร์เร็น บัฟเฟตต์” สูญเงินเกือบ 6.5 หมื่นล้าน ภายใน 2 วัน หลังเก็งกำไรพลาด

จริงๆ แล้วผมจัดคอร์สสัมมนา Buffett Decode อยู่ ไม่น่าเอาข่าวนี้มาลง เพราะจะทำให้คนกลัวเจ๊งแบบบัฟเฟต แล้วไม่ยอมมาสัมมนาหรือเปล่า ? (จริงๆ ไม่เกี่ยวหรอกนะครับ คอร์สเราสอนแนวคิด ทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนของแนวคิดบัฟเฟต ให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้กับแนวทางการลงทุนของตัวเอง เพราะผมเองจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีแนวทางการลงทุนแบบบัฟเฟตเหมือนกัน และถึงบัฟเฟตจะเจ๊งหนักยังไง เค้าก็ยังเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งของโลก ไม่มีเปลี่ยนแปลงครับ)

สรุปเรื่องยุโรป กับ QE

== เวอร์ชั่นภาษาเศรษฐศาสตร์ ==

มาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน เมื่อเค้าปฏิเสธที่จะบอกถึงขนาดของ QE แต่ได้บอกรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผน QE ว่าจะเริ่มต้นพิมพ์เงินมาซื้อพันธบัตรช่วงกลางเดือนตุลาคม 2014 (เดือนนี้) หลังจากนั้นจะพิมพ์เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ABS (หลักทรัพย์ที่เอาสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หนี้บัตรเครดิต มาปั้นรวมเป็นก้อน จัดเครดิตให้ว่าน่าเชื่อถือ แล้วปล่อยออกขาย) ช่วงปลาย Q4 และจะทำต่อเนื่องไป 2 ปี

ความเสี่ยงของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ตอนที่ 1

(นี่เป็นบทความยาว ใครไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ ต้องขอโทษด้วยนะครับ)

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมเคยเกริ่นๆ ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา Buffett Decode ฟังในวันสัมมนาไปครั้งหนึ่ง เป็นประเด็นสำคัญที่อยากให้คนที่อยากจะเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าเห็นภาพที่ชัดของ “การถือหุ้นแบบไม่ขาย” ตามสไตล์ของไอดอลอย่างวอเรน บัฟเฟต

สรุปความเห็นของ ดร.นิเวศน์ที่มีต่อหุ้นในตลาด MAI

1. IPO ราคาวิ่งแรงจนเกินเหมาะสม

2. PE, PBV, Dividend Yield เข้าข่ายแพงเกินเหตุ (แพงกว่า Nasdaq ก่อนฟองสบู่แตก)

AirBnB โมเดลรายได้ใหม่ของอสังหาริมทรัพย์

ตอนที่ผมพูดถึงเรื่องแคมเปญหุ้นแลกห้องของทาง Park24 มีแฟนเพจบางท่านสนใจประเด็นการสร้างรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้ช่องทางของ AirBnB วันนี้ผมนอกเรื่องหุ้นมาเล่าโมเดลรายได้ของ AirBnB ให้ฟัง

ความไม่สมเหตุสมผลของ PTTGC

หากนับอันดับหุ้นที่น่าผิดหวังที่สุดในปีนี้ 1 ใน 10 อันดับของตลาดหุ้นไทย คงต้องยกให้หุ้นของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC รวมอยู่ด้วยอย่างเลี่ยงไม่พ้น

ทำไม BJC ต้องการธุรกิจค้าปลีก..?

สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มสิริวัฒนภักดี โดยเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ได้เข้าซื้อธุรกิจค้าปลีก “เมโทร” ในเวียดนาม มูลค่า 2 หมื่น 8 พันล้านบาท หลังพยายามเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกมานาน การเข้าซื้อ”เมโทร” ครั้งนี้ จะช่วยต่อยอดธุรกิจของกลุ่มได้อย่างไร และทำให้ธุรกิจค้าปลีกจะกลายเป็นธุรกิจสำคัญในอนาคตอย่างไร

วิธีไหนก็ได้ ขอให้ทำกำไรได้เป็นพอ

CIS (อ่านว่าซิส) เป็นรหัสเรียกหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกแทนชื่อจริงของหนุ่มน้อยอดีตโอตาคุชาวญี่ปุ่น ที่ทำรายได้จากตลาดหุ้นในปี 2013 เป็นจำนวนเงินกว่า 6,000 ล้านเยน หรือประมาณ 1,777 ล้านบาท ด้วยการเดย์เทรดในชุดนอนกับหนังสือการ์ตูนอีกเล่มในมือ

ความเสี่ยงของเหล่า Chololate Lovers

ผมไม่ได้กำลังจะพูดถึงสุขภาพหัวใจของคุณหรอกนะครับ
ผมจะเตือนถึงสุขภาพของกระเป๋าสตางค์คุณต่างหาก
ตอนนี้มีแนวโน้มว่าราคาชอคโกแลตทั่วโลกอาจจะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จากวิกฤติอุปสงค์ (demand crisis) ของเหล่าคนรักชอกโกแลตทั่วโลกสูงขึ้นแบบหยุดไม่อยู่

การดูต้นทุนการผลิตสินค้า

ต้นทุนการผลิตจะสะท้อนมาในกำไรขั้นต้น เนื่องจากกำไรขั้นต้นคือ (การเอาต้นทุนผลิตหัก (COGS) ออกจากรายรับ) สีแดง คือต้นทุนผลิต สีเขียวคือกำไรขั้นต้น

Divergence กับความเข้าใจผิดๆ

โมเมนตัม เป็นตัวบอกแรงส่งของหุ้น เหมือนกับการเหยียบคันเร่งของรถ

– ถ้ารถยนต์กำลังจอดนิ่ง เมื่อเราเหยียบคันเร่งจนสุด ล้อหมุนติ้ว แม้รถจะยังไม่เคลื่อนไปข้างหน้า แต่ตัวรถยนต์สะสมกำลังเต็มที่ เตรียมพุ่งไปข้างหน้า
– ถ้ารถกำลังพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 160 km/ชั่วโมง เมื่อเราเหยียบเบรค รถยนต์จะไม่หยุดทันที

P/E Divergence สัญญาณที่น่าสนใจ..!!

หลายคนตัดสินว่าหุ้นถูกหรือแพง โดยเลือกหุ้นตาม P/E ใช่ไหมครับ P/E สูงแปลว่าหุ้นนั้นแพง ส่วน P/E ต่ำแปลว่าหุ้นนั้นถูก

P/E เป็นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบง่ายๆ เบื้องต้นที่ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีจุดอ่อนหลายๆ อย่าง เช่น

Profit Margin เป็นตัวเลขที่บอกส่วนต่างระหว่างราคาขายและต้นทุน

ตัวอย่าง
– นาย A เปิดร้านส้มตำ ราคาต้นทุนเฉลี่ย (รวมค่าแรง วัตถุดิบ ฯลฯ) ส้มตำจานละ 20 บาท ขายในราคา 30 บาท
ร้านส้มตำนี้จะมีกำไร 10 บาทต่อจาน มี Profit Margin 10/30 = 33.33%
– นาย B เปิดร้านซูชิ ราคาต้นทุนเฉลี่ย (รวมค่าแรง วัตถุดิบ ฯลฯ) ซูชิโอโทโร่คำละ 150 บาท ขายในราคา 450 บาท
ร้านซูชิจะมีกำไร 300 บาทต่อคำ มี Profit Margin 300/450 = 66.67%

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 3

อ่านตอนที่ 1 (http://blog.marketanyware.com/2014/08/17/เข้าใจcashflow1/)
อ่านตอนที่ 2 (http://blog.marketanyware.com/2014/08/18/เข้าใจcashflow2/)

Investing Cash Flow และ CAPEX

ทวนกันอีกนิด ในทุกๆ ธุรกิจจะมีแหล่งเงินเข้าออกหลักๆ จากธุรกิจหลักของบริษัท เช่น ถ้าคุณขายชาเขียวแบบเสี่ยตัน แหล่งเงินไหลเข้าหลักๆ ก็ต้องมาจากยอดขายน้ำชาบรรจุขวด ส่วนแหล่งเงินไหลออกหลักๆ ก็มาจากต้นทุนการผลิตชา ที่นี้ต้นทุนการผลิตมีอะไรบ้างล่ะ..? ค่าแรงคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าต้นชา ค่าขวดพลาสติก ค่านู่นนี่ พวกนี้ต้องจ่ายทุกเดือนนะครับ มันจะอยู่ใน Operating Cash Flow ในส่วนเงินไหลออก

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 2

อ่านตอนที่แล้วที่นี่ (http://blog.marketanyware.com/2014/08/17/เข้าใจcashflow1/)

ในงบการเงินจะแบ่งกระแสเงินสดเป็น 3 ประเภทครับ
– Operating Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (เส้นเขียว)
– Investing Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากการลงทุน (เส้นแดง)
– Financing Cash Flow หรือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน (เส้นเหลือง)

เข้าใจ Cash Flow แบบง่ายๆ ตอนที่ 1

ถ้าถามผมว่า หลายๆ คนที่เพิ่งเริ่มศึกษางบการเงิน กลัวอะไรมากที่สุด? ผมมั่นใจว่าเรื่องของ “กระแสเงินสด (Cash Flow)” เป็นหนึ่งในนั้น โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนบัญชีมา ไม่ได้ทำธุรกิจมา การที่จะเข้าใจกระแสเงินสดเป็นอะไรที่ไม่ง่ายเลย เพราะนึกภาพไม่ออก จินตนาการไม่ได้

ในคอร์ส Buffet Decode ที่ผมสอน (http://bit.ly/1Cit9rQ) มีเรื่องกระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญตัวนึงเลย เลยคิดว่าควรจะมาเกริ่นปูพื้นฐานให้ซักนิดก่อน เผื่อใครได้อ่านแล้วตอนเข้าคอร์สจะได้ไปได้เร็วขึ้น

วันนี้เจอแต่เรื่อง SLC SLC SLC เต็มไปหมดเลย..

มีเพื่อนบางคนที่เพิ่งเริ่มลงทุน อ่านข่าว SLC แล้วไม่เข้าใจ เลยมาถามผมเรื่องเพิ่มทุน ผมขอถือโอกาสอธิบายเรื่องการเพิ่มทุนแบบโคตรหฤโหดของ SLC ผ่านเพจ Market Anyware เลยละกันครับ เพื่อมือใหม่หลายๆ คนที่เพิ่งเริ่มลงทุนจะได้อ่านดรามา SLC กันเข้าใจมากขึ้น

สมมติว่าเมื่อหลายปีที่แล้วคุณหุ้นเปิดร้านอาหารกับเพื่อนของคุณชื่อนาย S นาย L กับนาย C โดยนาย S, L, C และคุณ รวม 4 คนนั้นถือหุ้นกันคนละ 1 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5 บาท รวมเป็นหุ้นทั้งหมด 4 ล้านหุ้น มูลค่าทุนรวมทั้งหมด 20 ล้านบาท

JAS น่าซื้อมั้ย..?

หลังจากผมโพสเรื่องการซื้อหุ้นคืน (http://blog.marketanyware.com/2014/08/10/ซื้อหุ้นคืนคืออะไร/) ผมมีคำถามทิ้งท้ายเอาไว้ ว่า ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรับรู้แล้ว ว่าจะมีการซื้อหุ้นคืน จะมีทางไหนที่เจ้ามือจะทุบราคาหุ้นให้ลงต่ำๆ ได้บ้าง..? ก็เลยมีตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ เรื่องหุ้น JAS (http://lab.ai/jas-aug14) ที่พอจะใช้เป็นกรณีศึกษาได้

ประเด็นก็คือ ในช่วงเดือนมิ.ย. 57 JAS มีการประกาศซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วโดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1 พันล้านบาท โดยบริษัทฯจะซื้อหุ้นคืนภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. 57 (ก็คือจะจบไม่เกินวันที่ 16 ธ.ค. 57)

ซื้อหุ้นคืนคืออะไร..? BTS, BLAND กำลังจะทำอะไร..?

>> BTS ซื้อหุ้นคืน 5% กำไร Q2 ลดเหลือ 650 ล.

BTS เปิดโครงการซื้อหุ้นคืนวงเงิน 6 พันล้านบาท จำนวนไม่เกิน 600 ล้านหุ้น คิดเป็น 5% เผยกำไร Q1/57 ลดลงเหลือ 650 ล้านบาท

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) BTS แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน โดยมีวงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 6,000 ล้านบาท และจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 600 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 5% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด

ส่วนแบ่งตลาดกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมี Market Cap ในตลาด SET ประมาณ 2.14 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.9% ของ Market Cap ทั้งหมดครับ

ส่วนลิงค์นี้คือ Market Share ในกลุ่มก่อสร้างที่วัดจากรายได้ในปี 2013 ครับ http://info.marketanyware.com/set-summary/?type=revenue§or=cons

ส่วนแบ่งตลาดกลุ่มอสังหา

ผมเอาข้อมูล Market Share ในกลุ่มอสังหามาให้ดูกันครับ อันนี้เป็น Market Share ที่วัดจากรายได้ในปี 2013 ของบริษัทในกลุ่มอสังหา http://info.marketanyware.com/set-summary/?type=revenue§or=prop

ภาพรวมทั้งกลุ่มมีรายได้ 3.3 แสนล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 53,000 ล้านบาท โดยรายได้คิดเป็นสัดส่วน 3.48% เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัททั้งหมดใน SET แต่กำไรสุทธิรวมสูงถึง 7.59% (บ่งบอกว่าธุรกิจในกลุ่มอสังหา มีสัดส่วนกำไรที่ดีเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเซกเตอร์อื่นๆ)

เรื่องดีๆ ที่มือใหม่มักจะมองข้ามไปเกี่ยวกับเงินปันผล

ในโพสที่แล้วผมพูดถึงเรื่องการออมปีละ 10,000 เป็นเวลา 40 ปี เพื่อที่เราจะได้เงิน 3,000,000 ในยามเกษียณ ผมเชื่อว่ามีคนหลายคนมองว่าอดทนเก็บเงินตั้ง 40 ปี กลับได้ผลตอบแทนเพียงแค่ 3 ล้าน มันคุ้มกันไหม..?

ทุกคนอยากรวยเร็ว แต่มักมีความอดทนต่ำ ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเก็งกำไรและรวยทางลัดในตลาดหุ้น เรามีนักลงทุนที่เน้นพื้นฐานน้อยกว่านักเก็งกำไรมากในปจจุบัน ทุกคนอยากทำกำไรได้ปีละ 100% มากกว่ารับปันผลเพียงแค่ปีละ 8% แน่นอน ผมเองก็เช่นกัน..!!

THAI พุ่ง 2 วันบวกสูงสุด 18%

ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจที่ยากลำบากมาระยะใหญ่ๆ แล้ว ผนวกกับการบริหารจัดการที่ไม่สู้จะดีนักของการบินไทย ทำให้สายการบินของไทยสายการบินนี้เริ่มลดระดับการบินต่ำลงมาเรื่อยๆ ผลประกอบการลุ่มๆ ดอนๆ ขาดทุนปีเว้นปี ราคาหุ้นตกต่ำต่อเนื่องจาก 35 บาทช่วงกลางปี 2013 ลงมาอยู่ที่ 14-15 บาทช่วงกลางปี 2014 หรือร่วงลงมาเกือบๆ 60% ภายในปีเดียว

ลดพาร์คืออะไร..?

EFORL ลดพาร์เหลือ 0.075 ล้างขาดทุนสะสม เตรียมจ่ายปันผล

บางคนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องงบการเงินอาจจะงงประเด็นนี้ ลดพาร์คืออะไร ล้างขาดทุนสะสม แล้วมันจะมีอะไรเกิดขึ้นกับราคาหุ้นบ้าง ผมขอลองอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แบบนี้นะครับ

ในงบดุลของบริษัทใดๆ จะประกอบไปด้วยฝั่งสินทรัพย์ (Asset) ซึ่งจะเท่ากับ ส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) + หนี้สิน (Debt/Liabilities) จำง่ายๆ ว่า A = L + E

Elliott Wave ตอนที่ 2: Wave ไม่จำเป็นต้องขึ้น 5 และลง 3 เสมอไป

ในโพสแรกผมเล่าเรื่องจิตวิทยามวลชน กับ Elliott Wave โดยความเชื่อส่วนตัวของผม การมอง Wave ให้ออกนั้นผมสนใจที่ปัจจัยพื้นฐานและอารมณ์ตลาด มากกว่าการดูกราฟหรือ Fibonacci ดังนั้นคำอธิบายเรื่อง Wave ของผมอาจจะแตกต่างไปจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ นะครับ

หลายๆ คนพยายามมอง Wave ขาขึ้นว่าจะต้องเป็น 1-2-3-4-5 ขาลงจะต้องเป็น a-b-c และพยายามจะฝืนยัดเยียดคลื่นเข้าไปในกราฟให้ได้ อย่าครับ อย่าทำอย่างนั้น

กำไรโตทุกปี ดีจริงหรือ..? ว่าด้วยเรื่องของ EPS

บางคนอาจจะคัดเลือกบริษัทจากการเติบโตของกำไร แต่อย่าลืมสังเกตการเติบโตของปริมาณหุ้นตามไปด้วยนะครับ ถ้าปริมาณหุ้นโตเร็วกว่ากำไร (เช่น เพิ่มทุน, แปลงหนี้เป็นทุน ฯลฯ) การเพิ่มขึ้นของกำไรก็อาจจะไม่ใช่เรื่องดีๆ เสมอไป

ยกตัวอย่างเดิมๆ ครับ ร้านส้มตำของนาย A มีหุ้น 100,000 หุ้น ใช้เงินลงทุน 200,000 บาท (หุ้นละ 2 บาท) ในปีแรกทำกำไรได้ 40,000 บาท

NVDR คืออะไร..?

อธิบายภาษาง่ายๆ NVDR เป็นทางเลือกให้ชาวต่างชาติซื้อหุ้นไทยได้โดยผ่านบริษัทกลางชื่อ Thai NVDR Company Limited (เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์) ได้ค่ะ

วัตถุประสงค์หลักของ NVDR คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งช่วยให้ชาวต่างประเทศลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้โดยไม่ติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ (Foreign Limit) พร้อมทั้งสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน

Market Anyware เล่าเรื่อง Options ตอนที่ 4 Put Option ใน SET50

16ผมยกตัวอย่าง Put Option กับการซื้อขายที่ดินไปแล้ว ในโพสนี้ผมจะเข้าเรื่อง Put Option ที่เราสามารถใช้จริงๆ ได้ นั่นคือ Put Option กับ SET50 ในตลาด TFEX ครับ

สรุปใจความสำคัญอีกครั้ง

-คนที่ buying call/put option (long call/put) จะจำกัดความเสี่ยงเฉพาะค่า premium แต่ไม่จำกัดผลตอบแทน
-คนที่ selling call/put option (short call/put) จะจำกัดผลตอบแทน (ได้เฉพาะค่า premium) แต่ไม่จำกัดความเสี่ยง

ROE (Return on Equity)

ROE (Return on Equity) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น (Equity) สร้างรายได้กลับมาให้กับบริษัทได้มากแค่ไหน ยกตัวอย่างเดิมนะครับ..

นาย A ใช้ทุน 200,000 เปิดร้านขายส้มตำ และทำการขยายร้านโดยการกู้เงิน (ขายหุ้นกู้) ให้นาย C เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท สิ้นปีร้านส้มตำทำกำไรได้ 80,000 บาท ก่อนจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ (EBIT) และเมื่อจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 12,000 บาท ก็จะได้กำไรสุทธิ 68,000 บาท (Net Profit)

เพิ่มหนี้ หรือ เพิ่มทุน..?

เรื่องของหนี้ กับทุน เป็นเรื่องสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการเข้าใจงบการเงิน หากคุณต้องการทำธุรกิจ ก็จำเป็นจะต้องหาแหล่งเงินทุน ผมขอยกตัวอย่างเดิมที่เคยยกตัวอย่างมารอบนึงแล้ว

ถ้านาย A ต้องการเปิดร้านส้มตำ ใช้เงินลงทุน 200,000 บาท ไม่กู้เลย ทำกำไรได้ปีละ 40,000 บาท
– ในกรณีนี้ E จะเท่ากับ 200,000 ที่ลงทุนไป
– ROA จะเท่ากับ 40,000/200,000 = 20%
– ธุรกิจนี้ไม่มีหนี้เลย D/E = 0/200,000 = 0

ROA (Return on Asset)

ROA (Return on Asset) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า สินทรัพย์ (Asset) ของบริษัทนั้นช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น..

Market Anyware เล่าเรื่อง Options ตอนที่ 3 Put Option

จบเรื่อง Call Option ไปแล้ว (ย้อนไปอ่านได้ที่นี่ http://blog.marketanyware.com/2014/07/06/options2/) ผมจะมาพูดถึงเรื่อง Put Option กันบ้าง

Put Option จะตรงข้ามกับ Call Option เลยครับ และจะเข้าใจยากกว่าหน่อย แต่เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Call กับ Put ให้ได้มากที่สุด ผมจะยกตัวอย่างโดยใช้เรื่องเดิม คือการซื้อขายที่ดิน

Market Anyware เล่าเรื่อง Options ตอนที่ 2 Call Option

อันนี้เป็นโพสเก่าผมเอามาเล่าใหม่ เริ่มอ่านตอนต้นได้ที่นี่ครับ

ตอนที่ 1: เริ่มต้นกับ Options http://blog.marketanyware.com/2014/07/04/options1/

ผมยกตัวอย่าง Call Option กับการซื้อขายที่ดินไปแล้ว ในโพสนี้ผมจะเข้าเรื่อง Call Option ที่เราสามารถใช้จริงๆ ได้ นั่นคือ Call Option กับ SET50 ในตลาด TFEX ครับ

Market Anyware เล่าเรื่อง Options

ตลาด TFEX มีสัญญาล่วงหน้าซื้อขายกันอยู่สองประเภท สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไทยคุ้นเคยกันมากก็คือสัญญา futures เล่น long long short short กันมาจนชิน เพราะ futures นั้นเข้าใจง่าย แค่เลือกว่าจะแทงขึ้นหรือแทงลง แล้วก็ลุ้นให้ตลาดวิ่งไปตามทางที่เราเลือก